Headline:  ท่องเที่ยวอย่างมีสไตล์ ย่านซิลเวอร์ ริเวอร์

Date:  5 เมษายน 2560
เครื่องยนต์ | เครื่องยนต์เรือ | ข่าว | บริการซ่อมบำรุง (hashtag)

การล่องเรือท่องเที่ยวออกไปยังแม่น้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง แม่น้ำ ริโอ เดอ ลา พลาตา ได้นั้น อาจต้องอาศัยเครื่องยนต์ที่มีพละกำลังที่แข็งแกร่ง และสร้างความอุ่นใจให้กับนักท่องเที่ยวได้ และเครื่องยนต์เรือ สแกนเนีย ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

แม่น้ำ ริโอ เดอ ลา  พลาตา แม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอาร์เจนตินา เกิดขึ้นจากแม่น้ำสายน้อยใหญ่ ไหลมาบรรจบกัน รวมทั้งแม่น้ำสายหลักอย่าง แม่น้ำปารานา

สำหรับต้นตระกูลเก่าแก่อย่าง ตระกูลสเตอร์ลา สายน้ำแห่งนี้เปรียบเสมือนบ้าน และที่ทำงานของพวกเขาก็ว่าได้ โดยในปี ค.ศ. 1947 แองเจิล โรเบอร์โต สเตอร์ลา ได้ก่อตั้งธุรกิจเรือขนส่งผู้โดยสารขึ้น ในนาม สเตอร์ลา เวียเจส เป็นธุรกิจเรือขนส่งผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแม่น้ำ ริโอ เดอ ลา พลาตา ของตระกูล และจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก เฮคเตอร์ ได้สานต่อธุรกิจของตระกูลมาอย่างต่อเนื่อง จวบจนปัจจุบัน ธุรกิจครอบครัว สเตอร์ลา ได้ถูกส่งต่อสู่รุ่นหลาน โดยมี จอร์จ สเตอร์ลา หลานชายของเค้าสานต่อธุรกิจเรือขนส่งผู้โดยสาร สเตอร์ลา เวียเจส ต่อไปสู่อนาคต

รูปที่ 1 – ผู้โดยสารกำลังมุ่งหน้าสู่ แม่น้ำปารานา สถานที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติในปี ค.ศ. 2000 โดยองค์การยูเนสโก 

ประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง

เมืองบัวโนส ไอเรส ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นสถานที่ ที่น่าหลงใหลที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอาร์เจนตินา ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวกว่าหลายล้านคนตบเท้าเข้ามาเยี่ยมชมความสวยงามในเมืองหลวงแห่งนี้ นักท่องเที่ยวกว่าล้านคน เลือกที่จะเดินทางเข้ามาโดยรถไฟ และกว่า 2,800,000 คน เลือกที่จะเดินทางโดยรถบัส และในขณะเดียวกันมีรถยนต์ กว่า 8 แสนคัน กำลังทยอยขับเข้า และออกจากเมืองหลวงของอาร์เจนตินาแห่งนี้

รูปที่ 2 – จอร์จ สเตอร์ลา เจ้าของธุรกิจเรือขนส่งผู้โดยสาร สเตอร์ลา เวียเจส เลือกใช้เครื่องยนต์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของเค้า อย่างเครื่องยนต์เรือ สแกนเนีย

จอร์จ ได้เล่าประสบการณ์ของเขาให้เราฟังว่า “การเดินทางจากทิเกอร์ เข้าสู่ตัวเมืองบัวโนส ไอเรส มักจะประสบปัญหาการจราจรติดขัดอยู่เสมอ ด้วยเพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และการเดินทางโดยยานพาหนะบนท้องถนนที่หนาแน่นและแออัด จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างทางเลือกในการเดินทางที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ออกไปได้”

“ผมคิดว่า เรือของเราอาจเป็นตัวเลือกที่ดีอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการเดินทางจาก ทิเกอร์ สู่ บัวโนส ไอเรส ได้โดยใช้เวลาการเดินทางเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น  และถึงแม้ระยะเวลาอาจเท่ากับการเดินทางโดยรถไฟ หรือรถยนต์ แต่สิ่งที่คุณจะได้มากกว่านั้น อาจเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง!”

ในทุกวันนี้ มีผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ทิเกอร์ ไม่น้อยเดินทางไปทำงานในสถานที่ ที่สวยงามอย่างเมืองบัวโนส ไอเรส บ้างก็เลือกที่จะเดินทางโดยใช้บริการรถโดยสารบนท้องถนน และบ้างก็เลือกโดยสารมาทางรถไฟ ซึ่งถ้าหากผู้โดยสาร รู้สึกเบื่อหรือจำเจ ลองเปลี่ยนมาโดยสารทางเรือบ้างก็ไม่เลว เพราะผู้โดยสารจะได้ชมวิวทิวทัศน์สองฝั่งข้างทางและแม่น้ำที่ทอดยาวออกไปสุดลูกหูลูกตา เอนหลังนั่งอ่านหนังสือไปจิบกาแฟไปในระหว่างการเดินทาง หรือจะท่องโลกอินเตอร์เนต บนเรือ สเตอร์ลา ก็มี Wi-Fi ฟรีไว้ให้ใช้กันอย่างไม่มีจำกัด

มุ่งหน้าสู่ใจกลางเมือง

เมื่อเรือเข้าเทียบท่าแหล่งท่องเที่ยว เพอร์โต มาเดลโล แล้ว นั่นก็แปลว่าพวกเขาไปเดินทางถึงบัวโนส ไอเรส ศูนย์กลางทางการเงินที่คึกคักเป็นที่เรียบร้อย  และเพียงเดินทอดน่องออกไปเพียง 10 ช่วงตึก ท่านก็จะได้พบกับคฤหาสน์ คาซ่า โรซาด้า คฤหาสน์ที่พักสุดหรู และสำนักงานของประธานาธิบดี ประเทศอาร์เจนตินา สถานที่ ที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของประเทศ

“ผู้ที่เดินทางไปถึงที่นั่นจะรู้สึกถึงความสดชื่นของธรรมชาติ ราวกับพวกเค้าเดินทางกลับบ้านไปเจอสามี หรือภรรยา ที่กำลังรอจูบพวกเค้าอยู่ในตอนเย็น” จอร์จ สเตอร์ลา พูดไปพร้อมกับอมยิ้มไป

รูปที่ 3 – เมื่อเรือโดยสาร เฮคเตอร์ สเตอร์ลา เข้าเทียบท่าสู่เมือง บัวโนส ไอเรส เหล่าผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวต่างก็เตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเงินที่คึกคักแห่งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว กว่า 125,000 คน เดินทางเข้ามาสัมผัสความสวยงามของเมืองทิเกอร์ และเมืองบัวโนส ไอเรส โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน จะเป็นช่วงเวลาที่คนเมืองกำลังนั่งทำงานกันอยู่อย่างขมักเขม่น ซึ่งในทางกลับกันก็เป็นเวลาที่เรือโดยสารของ ตระกูล สเตอร์ลา กำลังเริ่มทยอยกลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ มุ่งหน้าเข้าสู่แม่น้ำปารานา ซึ่งพวกเค้าเหล่านั้นจะได้สัมผัสกับวิวทิวทัศน์ของสองชายฝั่งแม่น้ำ และสัตว์น้อยใหญ่จะออกมาโชว์ตัวให้พวกเค้าได้เห็น พร้อมกับสูดอากาศที่ปลอดโปร่งจากระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ และเพราะธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ทำให้ธุรกิจเรือโดยสารของ สเตอร์ลา ประสบความสำเร็จตามไปด้วย

อุปสรรคของการล่องเรือในแม่น้ำตื้น

บางครั้งการล่องเรือจากแม่น้ำปารานา ออกไปสู่ แม่น้ำสายใหญ่ ริโอ เดอ ลา พลาตา ก็อาจสร้างปัญหาให้กับการเดินเรือได้ ด้วยเพราะขนาดของแม่น้ำที่กว้างกว่า 200 กิโลเมตร และยาวสุดลูกหูกตาไปถึง 290 กิโลเมตร บวกกับการตกตะกอนของดินที่พัดพามาจากแม่น้ำหลายๆสายรวมกัน ทำให้บริเวณนั้นตื้นเขิน ซึ่งเรือโดยสาร เฮคเตอร์ สเตอร์ลา และเรือลำอื่นๆของบริษัท เกือบทั้งหมดสามารถจมน้ำลึกในระดับได้ไม่เกินสองเมตรเท่านั้น ซึ่งมันทำให้เรือแล่นผ่านไปได้ค่อนข้างยาก

รูปที่ 4 – กัปตันเซอร์จิโอ กุยเลอโมเน่ แห่งเรือสเตอร์ลา ผู้ที่รู้ทุกซอกทุกมุม ทุกวิธีการหลบหลีกสันดอนใต้แม่น้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลแห่งนี้ ราวกับแม่น้ำสายนี้เป็นเพียงแค่กระเป๋าสตางค์ใบเล็กๆของเค้าก็ว่าได้

ถึงแม้ กัปตันเซอร์จิโอ กุยเลอโมเน่ จะมีประสบการณ์การเดินเรือมากเพียงใดก็ตาม แต่ในบางครั้งอุปสรรคทางธรรมชาติก็เข้ามาอย่างที่เค้ายังไม่ทันได้ตั้งตัว

“บางครั้งสภาพอากาศใน ริโอ เดอ ลา พลาตา ก็เลวร้าย มีบางทีที่ผมต้องวกเรือกลับไปส่งผู้โดยสารที่ท่าเรือฝั่งบัวนอส ไอเรส หรือ ฝั่ง ทิเกอร์” กัปตันกล่าว “และในช่วงเวลานั้น สิ่งที่สำคัญ และมีบทบาทที่สุดที่จะช่วยให้เรือฝ่ากระแสน้ำไปได้อย่างปลอด ก็คงจะเป็น เครื่องยนต์เรือพละกำลังสูง จาก สแกนเนีย นี่แหละ”

ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความสะดวกสบาย ต้องมาก่อนเสมอ

ด้วยเพราะ สเตอร์ลา เวียเจส เป็นบริษัท เพียงบริษัทเดียวในบัวโนส ไอเรส ที่ทำธุรกิจเรือขนส่งผู้โดยสารที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปยังแม่น้ำ ริโอ เดอ ลา พลาตา จึงทำให้เค้าต้องคอยพัฒนาสมรรถนะของเรือทุกลำอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะในแต่ละปีจะมีผู้โดยสารเดินทางไปกับเรือของเค้ากว่า 250,000 คน ซึ่งนั่นยิ่งทำให้เค้าต้องโฟกัสถึงเรื่องความปลอดภัย และการบริหารเวลาเดินเรือให้มากยิ่งขึ้น เพราะในบางครั้งการเดินเรือในแม่น้ำสายใหญ่แบบนี้ อาจต้องเจอบางสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย ซึ่งทำให้เค้า ต้องพึ่งพาเครื่องยนต์ยนต์เรือที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถเผชิญกับปัญหาได้ในทุกรูปแบบ คุ้มค่าแก่การใช้งานและประหยัดน้ำมัน และนั่นคือเหตุผลที่เค้าเลือกใช้เครื่องยนต์เรือ สแกนเนีย เพราะเค้าเชื่อว่าสแกนเนีย สามารถมอบความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารของเค้าได้นั่นเอง

รูปที่ 5 – เรือโดยสาร สเตอร์ลา กำลังพานักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากเมือง ทิเกอร์ มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองบัวโนส ไอเรส

ความมั่นใจในการให้บริการ

ความสัมพันธ์ระหว่าง จอร์จ สเตอร์ลา กับตัวแทนศูนย์บริการซ่อมบำรุงของสแกนเนีย มีมาอย่างยาวนาน

“แน่นอน ผมสามารถไว้วางใจตัวแทนศูนย์บริการซ่อมบำรุงของสแกนเนีย ได้ 100% เพราะทุกครั้งที่ผมแจ้งปัญหาไป สแกนเนียก็เข้ามาแก้ไขให้ผมอย่างทันที บางครั้งพวกเค้าก็ทำงานกันตลอดทั้งคืน เพื่อที่รุ่งเช้าเรือจะพร้อมรับส่งผู้โดยสาร”

“และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากได้จากสแกนเนียในอนาคต นั่นคือเครื่องยนต์ที่เล็กลงกว่าเดิมแต่มีสมรรถนะที่ดียิ่งขึ้น เพราะผมอยากให้เรือลำเล็กๆของผม ได้ใช้เครื่องยนต์เรือ สแกนเนีย” จอรจ์ สเตอร์ลากล่าว

เรือโดยสาร เฮคเตอร์ สเตอร์ลา

เครื่องยนต์: สแกนเนีย ขนาด 13 ลิตร 450 แรงม้า

ความยาวเรือ: 25.35 เมตร

ความกว้างเรือ: 4.22 เมตร

ความเร็วสูงสุด: 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ความสามารถบรรทุกผู้โดยสาร: 88 คน

https://www.scania.com/group/en/commuting-in-style-on-the-silver-river/